กรณีศึกษาของการเกิดอุบัติเหตุในห้องครัว ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
จากสถิติในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ปี 2006 ถึง 2010 มีการเกิดไฟไหม้ ถึง 317,700 ครั้ง ผู้เสียชีวิตประมาณ 2,590 และมีทรัพย์สินเสียหายกว่า 720 ล้านดอลล่า สาเหตุมาจากการเผาไหม้ของน้ำมันในการทำอาหาร การเกิดประกายไฟจากการสะสมของคราบเขม่าที่สกปรกในเครื่องดูดควัน
มีนักวิจัยหลายท่านได้ทำการวิจัยค้นคว้าเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องครัว เช่น
Wei Tongtong ทำการวิเคราะห์คุณลักษณะของอันตรายจากการเกิดไฟไหม้ / Chen Touqi ศึกษาผลกระทบและกลไกการระบายควันไฟที่เกิดจากไฟไหม้ในห้องครัวในจุดต่าง ๆ โดยจำลองกระบวนการเกิดไฟไหม้ในห้องครัว
- น้ำมันในกระทะขนาด 1.5 ลิตร เริ่มลุกไหม้ ที่1 นาที 15 วินาที
- เครื่องดูดควันจะเริ่มติดไฟ ที่เวลา 1 นาที่ 25 วินาที
- เครื่องดูดควันจะหยุดการทำงาน ที่เวลา 2 นาที
- ที่เวลา 2 นาที 30 วินาที วัสดุเกือบทั้งหมดในห้องครัวจะถูกเผาไหม้ จนถึงจุดวาบไฟ
- ที่ 3 นาที เครื่องดับเพลิงแบบแป้งชนิดแห้ง (dry power fire extinguish) ถูกใช้เพื่อดับไฟ พบว่าจะมีหลายครั้งที่ไฟกลับมาติดใหม่
- สุดท้าย ต้องใช้เครื่องดับไฟสำหรับน้ำมันในห้องทำอาหารชนิดพิเศษ (water-based fire extinguisher) พื่อดับไฟในระบบเครื่องดูดควันและไฟจากกระทะน้ำมัน
- ที่ 6 นาทีเปลวไฟจึงจะถูกกำจัดได้อย่างเสร็จสิ้น
รูป แสดงถึงพัฒนาการของการเกิดไฟไหม้ในห้องครัวและกระบวนการดับไฟในเหตุการณ์ต่างๆ กัน
สรุป
- น้ำมันทำอาหารเป็นสิ่งที่ยากมากในการติดไฟ ตราบใดที่พนักงานไม่ทิ้งหน้าที่การทำอาหารเป็นเวลานาน
- เมื่อเครื่องดูดควันทำงาน จะมีการดูดปลวไฟเข้าไปในเครื่องดูดควันและเกิดไฟใหม้ได้ ดังนั้นในช่วงเวลาของการเกิดไฟไหม้ของน้ำมันในกระทะ เราควรที่จะปิดการทำงานของเครื่องดูดควันโดยเร็ว เพื่อป้องกันอุบัติเหตุของการขยายตัวของเปลวไฟอย่างต่อเนื่อง
- มันเป็นเรื่องที่ยากมากๆ ที่จะดับไฟที่เกิดจากน้ำมันในการทำอาหารและไฟในเครื่องดูดควันโดยการใช้ dry powder fire extinguisher และง่ายมากๆ ที่จะเกิดการกลับมาติดไฟอีกครั้ง ดังนั้น แนะนำว่าควรใช้ water-based fire extinguisher สำหรับในห้องอาหารเชิงพาณิชย์ที่ซึ่งมีความเสี่ยงสูงๆ